วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  กำหนดการประเมินไว้  ๔  อย่าง  ดังนี้
        ๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
       ๒  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
       ๓  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        ๔  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สถานศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควรมีสาระต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1.   หลักการดำเนินวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา
2.  การตัดสินผลการเรียน
3.  การให้ระดับผลการเรียน
4.   การรายงานผลการเรียน
5.  เกณฑ์การจบการศึกษา
6. เอกสารหลักฐานการศึกษา
7.  การเทียบโอนผลการเรียน
***ตัวอย่างการเขียนหลักการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา
หลักการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียน
ข้อ ..  การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เป็นไปตามหลักการดำเนินต่อไปนี้
      ๑.  สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
      ๒.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตร  และจัดให้มีการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์
และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    ๓  การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
   ๔.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียน
การสอนต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย  เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน  ทั้งด้านความรู้  ความคิด  กระบวนการ  พฤติกรรม  และเจตคติ  เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด  ธรรมชาติวิชา  และระดับชั้นของผู้เรียน  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง  ยุติธรรม  และเชื่อถือไ

 ๕.  การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
๖.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียน
การสอนต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย  เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน  ทั้งด้านความรู้  ความคิด  กระบวนการ  พฤติกรรม  และเจตคติ  เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด  ธรรมชาติวิชา  และระดับชั้นของผู้เรียน  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง  ยุติธรรม  และเชื่อถือได้
๗.  การประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาจัดการเรียนรู้  และตัดสินผลการเรียน
๘  เปิดโอกาสให้ผู้เรียน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
                    ๙  ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ
                    ๑๐  ให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา  เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผล
การเรียนรู้  รายงานผลการเรียน  แสดงวุฒิการศึกษา  และรับรองผลการเรียนของนักเรียน
                   ๑๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ  ได้แก่
             ๑๑.๑  ระดับชั้นเรียน
             ๑๑.๒  ระดับสถานศึกษา
              ๑๑.๓  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
              ๑๑.๔  ระดับชาติ 
                   ๑๒  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  กำหนดการประเมินใน  ๔  องค์ประกอบหลัก  ดังนี้
             ๑๒.๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
             ๑๒.๒  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
             ๑๒.๓  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
             ๑๒.๔  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                 ๑๓  สถานศึกษาต้องตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนรู้และการวัดผล
และประเมินผลการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  ๕  ด้าน  ได้แก่
                             ๑๓.๑  ความสามารถในการสื่อสาร
                             ๑๓.๒  ความสามารถในการคิด
                             ๑๓.๓  ความสามารถในการแก้ปัญหา
                             ๑๓.๔  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิ
                            ๑๓.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 
ตัวอย่างการเขียนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน
             ๑. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้ 
                       ๑.๑  กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค                 
โดยให้ความสำคัญของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายปี/ปลายภาค 
 ๑.๒  กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนในระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษาเป็น  ๘  ระดับ  และ
กำหนดผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในระดับมัธยมศึกษา  ได้แก่
                             ๑)  ๐  หมายถึง  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
       ๒)  ร    หมายถึง  การประเมินที่ยังไม่สมบูรณ์
                           ๓)  มส  หมายถึง  การไม่มีสิทธิเข้ารับการสอบ
                          ๔)  มผ  หมายถึง  การไม่ผ่านเกณฑ์การปฏิบัติ
๑.๓  กำหนดให้มีการสอนซ่อมเสริม  การสอบแก้ตัว  กรณีผู้เรียนมีระดับผลการเรียน   และแนวดำเนินการ
กรณีผู้เรียนมีผลการเรียนที่มีเงื่อนไข  คือ     มส”  “มผ
                   ๑.๔  กำหนดแนวปฏิบัติในการอนุมัติผลการเรียน
                   ๑.๕  กำหนดแนวทางในการรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
                   ๑.๖  กำหนดแนวทาง  วิธีการในการกำกับ  ติดตามการบันทึกผลการประเมินในเอกสารหลักฐานการศึกษา
๑.๗  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  ให้ถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๗.๑  คณะกรรมการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนของสถานศึกษากำหนดผลการเรียนรู้หรือความสามารถการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนจากกลุ่มสาระการเรียนรู้  พร้อมกำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
             ๑.๗.๒  ผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ออกแบบการประเมิน  เพื่อประเมินความสามารถการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
ข้อ ๑.๘  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๘.๑  กำหนดเกณฑ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องประเมิน  ๘  ประการ  ได้แก่  รักชาติศาสน์กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน 
รักความเป็นไทย  และมีจิตสาธารณะ
                             ๑.๘.๒  ดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้  ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  และโครงการกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ
                             ๑.๘.๓  จัดให้มีการประเมินเป็นระยะ  พิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์รายปี (ระดับประถมศึกษา)  รายภาค (มัธยมศึกษา)  และจบการศึกษาแต่ละระดับชั้น
 ๑.๙  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๙.๑  ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม  ได้แก่
                   ๑)  กิจกรรมแนะแนว
                   ๒)  กิจกรรมนักเรียน
                   ๓)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
    ๑.๙.๒  ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเลื่อนชั้น  และจบระดับการศึกษา
    ๑.๙.๓  กำหนดคุณภาพหรือเกณฑ์ในการประเมิน  ๒  ระดับ  ได้แก่  ผ่าน  และไม่ผ่าน
....................................

ตัวอย่างการเขียนเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน

ข้อ ๒๑  สถานศึกษาจัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกตัวชี้วัด  โดยกำหนดเกณฑ์ร้อยละ  ๘๐  ของจำนวนตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์การผ่าน
ข้อ ๒๒  การตัดสินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  การอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องแต่ละภาคเรียน  รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มตามศักยภาพ
ข้อ ๒๓  ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาในระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษา  ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น    ระดับ
การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้มีระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม  ดี  ผ่าน  และไม่ผ่าน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม  การปฏิบัติ
กิจกรรม  และผลงานของผู้เรียน  และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน  และไม่ผ่าน
                ข้อ ๒๔  การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน  ให้สถานศึกษาโดยผู้สอนจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบภาคเรียนละ    ครั้ง
                ข้อ ๒๕  การเลื่อนชั้นจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน  ตลอดจนกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการผ่านตัวชี้วัดให้ชัดเจน  และประกาศให้ทราบทั่วกัน  ทั้งนี้  ผู้เรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีในระดับประถมศึกษา และเป็นรายภาคเรียนในระดับมัธยมศึกษา  และได้รับการเลื่อนชั้นเมื่อสิ้นปีการศึกษา
                ข้อ ๒๖  ในกรณีที่ผู้เรียนมีสติปัญญาและความสามารถดีเลิศ  สามารถเรียนรู้ได้เร็วเป็นพิเศษ  สถานศึกษาอาจให้โอกาสผู้เรียนเลื่อนชั้นระหว่างปีการศึกษาได้
                ข้อ ๒๗  หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก  และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น  สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้  ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ


                ข้อ ๒๘  ผลการเรียนที่มีเงื่อนไข  ได้แก่  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ  การประเมิน
ที่ยังไม่สมบูรณ์  การไม่มีสิทธิเข้ารับการสอบ  และการไม่ผ่านเกณฑ์การปฏิบัติ  สามารถแก้ไข
ผลการเรียนได้    กรณี  ได้แก่
                             ๒๗.๑  การเปลี่ยนผลการเรียน
                             ๒๗.๒  การเปลี่ยนผลการเรียน
                             ๒๗.๓  การเปลี่ยนผลการเรียน มส
                             ๒๗.๔  การเปลี่ยนผลการเรียน มผ
                ข้อ ๒๙  สถานศึกษาจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้
                ข้อ ๓๐  สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน    กรณี  ดังนี้
             ๓๐.๑  กรณีเรียนซ้ำรายวิชา
             ๓๐.๒  กรณีเรียนซ้ำชั้น
ตัวอย่างการเขียน การเทียบโอนผลการเรียน

ข้อ ๓๑  สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่าง ๆ ได้แก่
             ๓๑.๑  การย้ายสถานศึกษา
             ๓๑.๒  การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา
             ๓๑ ๓  การย้ายหลักสูตร
             ๓๑.๔  การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ
             ๓๑.๕  การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ
นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอนความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  สถานประกอบการ  สถาบันศาสนา  สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ  และการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
                ข้อ ๓๒  การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรกหรือ
ต้นภาคเรียนแรกที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเข้าเรียน  ทั้งนี้  ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอน
ผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย   ภาคเรียน โดยสถานศึกษา
ที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชา/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
                ข้อ ๓๓  การเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างการเขียน เอกสารหลักฐานการศึกษา

ข้อ ๓๔  ให้สถานศึกษาจัดให้มีเอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด  ดังนี้
                             ๓๔.๑  ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)
             ๓๔.๒  ประกาศนียบัตร (ปพ.๒)
             ๓๔.๓  แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓)
ข้อ ๓๕ ให้สถานศึกษาจัดให้มีเอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด  ดังนี้    
             ๓๕.๑  แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ปพ.๔)
             ๓๕.๒  แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.๕-ป) แบบบันทึกผล
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายวิชา (ปพ.๕-ม)
                                         ๓๕.๓  แบบรายงานประจำตัวนักเรียน (ปพ. ๖)
             ๓๕.๔  ใบรับรองผลการศึกษา (ปพ. ๗)
             ๓๕.๕  ระเบียนสะสม (ปพ. ๘)
             ๓๕.๖  สมุดบันทึกผลการเรียนรู้ (ปพ.๙)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น