วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินผล: การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            ความหมาย  :   ลักษณะที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  จิตสำนึกสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข   ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
            วิธีการจัด   :   ปลูกฝังและพัฒนา   ผ่านการจัดการเรียนการสอน   การปฏิบัติกิจกรรม   พัฒนาผู้เรียนในลักษณะต่าง ๆ   จนตกผลึกเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน
แนวดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        1.  นำพฤติกรรมบ่งชี้หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละด้านที่วิเคราะห์ไว้   บูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ   ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการพิเศษต่าง ๆ  ที่โรงเรียนจัดขึ้น  หรือกิจกรรมที่องค์กรในท้องถิ่นจัดขึ้น   รวมทั้งสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา  เช่น  การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน
                        2.  การประเมินโรงเรียนควรจัดให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ   โดยอาจประเมินเป็นรายสัปดาห์/รายเดือน / รายเดือน / รายภาค หรือรายปี   เพื่อให้มีการสั่งสมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสรุปผลการประเมินผลเมื่อจบปีสุดท้ายของแต่ละระดับการศึกษา
                        3.  โรงเรียนควรดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างเป็นระบบชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้  โดย
                                    -  แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                    -  ศึกษา /  กำหนตัวชี้วัด /  พฤติกรรมบ่งชี้ที่ สพฐ. จัดทำ
                                    -  กำหนดเกณฑ์และแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้สอดคล้องกับบริบทและจุดเน้นของโรงเรียน
                                    -  แจ้งให้ครูผู้สอน / ครูที่ปรึกษา  หรือครูประจำชั้นดำเนินการพัฒนา / ประเมินผลและส่งผลการประเมินให้ฝ่ายทะเบียนวัดผล
รูปแบบที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้ที่รับผิดชอบ พัฒนาและประเมินทุกคุณลักษณะ
                  เหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมสูงมีครูจำนวนเพียงพอ สถานศึกษาเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มุ่งสู่การเป็นเลิศ   ซึ่งจะเน้นการพัฒนาและตรวจสอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกประการตลอดเวลา  ทั้งนี้สถานศึกษาอาจมีเป้าหมายว่า นักเรียนร้อยละ ๙๐ ขึ้นไปจะต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ ดีเป็นอย่างน้อย   การประเมินรูปแบบนี้ดำเนินการดังนี้
คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาทำความเข้าใจกับคณะครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา  ครูที่ปรึกษา  ครูผู้ดูแลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคุณลักษณะ และร่วมกำหนดตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมบ่งชี้  หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคุณลักษณะตามที่คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาเพิ่มเติม  ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยและวุฒิภาวะของนักเรียน
. กำหนดเกณฑ์และการประเมินและคำอธิบายระดับคุณภาพให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรแกนกลางฯกำหนด  
กำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมินให้เหมาะสมกับตัวชี้วัด 
. ดำเนินการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการประเมินเป็นระยะ ๆ
. กำหนดระดับของพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่า พฤติกรรมนักเรียนอยู่ในระดับ เสี่ยง   กล่าวคือ   การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยวิธีธรรมดา อาจจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเกณฑ์ได้
ครูที่ปรึกษา หรือครูผู้สอนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันประสงค์ของสถานศึกษาต้องใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาโดยอาจทำกรณีศึกษา
.  เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปี ครูผู้สอนแต่ละคนส่งผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคนที่รับผิดชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
ซึ่งมีครูวัดผลเป็นเลขานุการ
. ครูวัดผลดำเนินการประมวลผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  
                     .นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ 
 รูปแบบที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้ที่รับผิดชอบ เลือกพัฒนาพัฒนาและประเมินเฉพาะคุณลักษณะที่เหมาะสม
                   เหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง  กล่าวคือ   มีจำนวนบุคลากรครูที่ครบชั้นเรียน  มีครูพิเศษบ้างแต่ไม่มากนัก  ครูคนหนึ่งอาจต้องเป็นทั้งผู้สอนและทำงานส่งเสริม  รวมทั้งรับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ ด้วย 
                     โดยการเลือกคุณลักษณะ อันพึงประสงค์เฉพาะข้อที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือตัวชี้วัดในกลุ่มสาระนั้นๆ ที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบ   เพื่อบูรณาการจัดทำแผนการเรียนรู้  และแผนการพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์ในข้อนั้นๆ ด้วยในคราวเดียวกัน   การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก็ดำเนินการประเมินร่วมกับตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยสถานศึกษาคาดหวังว่าเมื่อได้ดำเนินการในภาพรวมแล้ว  การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์จะครบทุกข้อตามที่สถานศึกษากำหนด  โดยดำเนินการดังนี้
                     ๑.  คณะกรรมการการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาและครูผู้สอน  ร่วมกันวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัดเนื้อหาในกลุ่มสาระวิชา   และพิจารณาเลือกคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบ  รวมทั้งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย 
                      .   ครูผู้สอนนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คัดเลือกไว้ไปบูรณาการกับตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้   ดำเนินการพัฒนาและประเมินร่วมกัน 
                     ๓.    ครูผู้สอนส่งผลการประเมินให้ครูวัดผล เพื่อสรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  และนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป  
รูปแบบที่ 3 ครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาพัฒนาและประเมิน หรือร่วมพัฒนาและประเมิน
                  เหมาะสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ครูไม่ครบชั้น หรือครบชั้นพอดี แต่ครูคนหนึ่งต้องทำหลายหน้าที่
อีกทั้งความพร้อมของทรัพยากรด้านอื่นๆ มีน้อย   ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนควรเปิดโอกาสให้ชุมชน อันได้แก่ พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินด้วย ซึ่งจะทำให้ผลการประเมินมีความเที่ยงตรงมากขึ้น
   การพัฒนาและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามรูปแบบนี้  ครูประจำชั้นและหรือครูประจำวิชาร่วมกันพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคน      ทุกประการ  โดยดำเนินการดังนี้
ครูประจำชั้นและ/หรือครูประจำวิชา  ซึ่งรับผิดชอบการสอนมากกว่าหนึ่งชั้นหรือหนึ่งกลุ่มสาระฯ 
การบูรณาการทุกกลุ่มสาระและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เข้าด้วยกัน  ร่วมกันพัฒนาและประเมิน โดยอาจใช้การสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริง   เปิดโอกาสให้ชุมชน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้านร่วมประเมินด้วย   ทั้งนี้ กรณีที่มีนักเรียนบางคนไม่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อใด  ครูร่วมกับชุมชนดำเนินการพัฒนาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่านักเรียนมีคุณสมบัติตามเกณฑ์แล้วจึงให้ผ่านการประเมิน
๒.ครูประจำชั้นและ/หรือครูประจำวิชาร่วมกันสรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  และนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่ออนุมัติต่อไป
                การออกแบบการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล และวิธีหาคุณภาพของเครื่องมือแล้ว ครูผู้สอนสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในชั้นเรียนได้ดังนี้
                . กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์/ตัวชี้วัด/พฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
                .วิเคราะห์พฤติกรรมสำคัญจากพฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
                . เลือกใช้วิธีการ เครื่องมือให้เหมาะสมกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์จะประเมิน
                .กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics)
(ศึกษารายละเอียดในเอกสารการวัดและประเมินผลและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์)












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น