วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินผล : การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน
ความหมาย
การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่านจากหนังสือ  ตำราเรียน เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อหาและหรือเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์  ความสุนทรีย์  และประยุกต์ใช้   และนำเนื้อหาสาระที่อ่านมา คิดวิเคราะห์ นำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์  สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาษาที่ถูกต้อง  มีเสนอผลและลำดับขั้นตอนในการนำเสนอ  สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน ตามระดับ ความสามารถในแต่ละระดับชั้น
ขอบเขตการประเมินและตัวชี้วัดที่แสดงความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ขอบเขตการประเมิน         
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และ/หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ประสบการณ์ และมีประเด็นให้คิดและเขียนบรรยาย ถ่ายทอดประเด็นที่คิดด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การอ่านสาระความรู้ที่นำเสนออย่างสนใจ  นิยาย  เรื่องสั้น  นิทาน  นิยายปรัมปรา
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น  ข้อดี  ข้อเสีย  ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะ
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ
5. สามารถแสดงความคิดเห็นความรู้สึกต่อเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และ/หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ  ความรู้ ประสบการณ์ที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์  แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ  แก้ปัญหา  และถ่ายทอดโดยการเขียนเป็นความเรียงเชิงสร้างสรรค์  ด้วยถ้อยคำ  ภาษาที่ถูกต้องชัดเจน เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วาสาร  หนังสือเรียน บทความ 
สุนทรพจน์  คำแนะนำ  คำเตือน
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศ เสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่าง ๆ
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุ เป็นผลจากเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์เรื่องที่อ่าน
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน
5. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และสื่ออิเลคทรอนิกส์ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ  ข้อคิด  ความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สรุปแนวคิดคุณค่าที่ได้ นำไปประยุกต์ใช้ด้วยวิจารณญาณ และถ่ายทอดเป็นข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์หรือรายงานด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วาสาร  หนังสือเรียน บทความ  สุนทรพจน์  คำแนะนำ  คำเตือน แผนภูมิ  ตาราง  แผนที่
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถคัดสรรสื่อที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจ
   และประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน  
2. สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุนโต้แย้ง
3. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์  ความสมเหตุสมผล  ความน่าเชื่อถือ  ลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่อง
     ที่อ่าน
 4. สามารถสรุปคุณค่า  แนวคิด  แง่คิดที่ได้จากการอ่าน
 5. สามารถสรุปอภิปราย  ขยายความ  แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง  สนันสนุน  โน้มน้าว  โดยการเขียน
     สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผังความคิด เป็นต้น
รูปแบบการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
      โรงเรียนสามารถเลือกรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน
                แบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
แบบที่ 2 การใช้เครื่องมือ หรือแบบทดสอบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
แบบที่ 3 การกำหนดโครงการ /กิจกรรมส่งเสริมความสารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ
แบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดในการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ผลการประเมินมี 4 ระดับ
ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนมีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ
ดี         หมายถึง มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
ผ่าน    หมายถึง  มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีข้อบกพร่อง
                           บางประการ
ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีที่มีผลงาน
                           ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น