วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินผล: การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            ความหมาย  :   ลักษณะที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  จิตสำนึกสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข   ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
            วิธีการจัด   :   ปลูกฝังและพัฒนา   ผ่านการจัดการเรียนการสอน   การปฏิบัติกิจกรรม   พัฒนาผู้เรียนในลักษณะต่าง ๆ   จนตกผลึกเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน
แนวดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        1.  นำพฤติกรรมบ่งชี้หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละด้านที่วิเคราะห์ไว้   บูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ   ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการพิเศษต่าง ๆ  ที่โรงเรียนจัดขึ้น  หรือกิจกรรมที่องค์กรในท้องถิ่นจัดขึ้น   รวมทั้งสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา  เช่น  การเข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน
                        2.  การประเมินโรงเรียนควรจัดให้มีการประเมินเป็นระยะ ๆ   โดยอาจประเมินเป็นรายสัปดาห์/รายเดือน / รายเดือน / รายภาค หรือรายปี   เพื่อให้มีการสั่งสมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสรุปผลการประเมินผลเมื่อจบปีสุดท้ายของแต่ละระดับการศึกษา
                        3.  โรงเรียนควรดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างเป็นระบบชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้  โดย
                                    -  แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                    -  ศึกษา /  กำหนตัวชี้วัด /  พฤติกรรมบ่งชี้ที่ สพฐ. จัดทำ
                                    -  กำหนดเกณฑ์และแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้สอดคล้องกับบริบทและจุดเน้นของโรงเรียน
                                    -  แจ้งให้ครูผู้สอน / ครูที่ปรึกษา  หรือครูประจำชั้นดำเนินการพัฒนา / ประเมินผลและส่งผลการประเมินให้ฝ่ายทะเบียนวัดผล
รูปแบบที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้ที่รับผิดชอบ พัฒนาและประเมินทุกคุณลักษณะ
                  เหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมสูงมีครูจำนวนเพียงพอ สถานศึกษาเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มุ่งสู่การเป็นเลิศ   ซึ่งจะเน้นการพัฒนาและตรวจสอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกประการตลอดเวลา  ทั้งนี้สถานศึกษาอาจมีเป้าหมายว่า นักเรียนร้อยละ ๙๐ ขึ้นไปจะต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ ดีเป็นอย่างน้อย   การประเมินรูปแบบนี้ดำเนินการดังนี้
คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาทำความเข้าใจกับคณะครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา  ครูที่ปรึกษา  ครูผู้ดูแลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคุณลักษณะ และร่วมกำหนดตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมบ่งชี้  หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคุณลักษณะตามที่คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาเพิ่มเติม  ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยและวุฒิภาวะของนักเรียน
. กำหนดเกณฑ์และการประเมินและคำอธิบายระดับคุณภาพให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรแกนกลางฯกำหนด  
กำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมินให้เหมาะสมกับตัวชี้วัด 
. ดำเนินการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการประเมินเป็นระยะ ๆ
. กำหนดระดับของพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่า พฤติกรรมนักเรียนอยู่ในระดับ เสี่ยง   กล่าวคือ   การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยวิธีธรรมดา อาจจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเกณฑ์ได้
ครูที่ปรึกษา หรือครูผู้สอนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันประสงค์ของสถานศึกษาต้องใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาโดยอาจทำกรณีศึกษา
.  เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปี ครูผู้สอนแต่ละคนส่งผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคนที่รับผิดชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
ซึ่งมีครูวัดผลเป็นเลขานุการ
. ครูวัดผลดำเนินการประมวลผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  
                     .นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ 
 รูปแบบที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้ที่รับผิดชอบ เลือกพัฒนาพัฒนาและประเมินเฉพาะคุณลักษณะที่เหมาะสม
                   เหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมปานกลาง  กล่าวคือ   มีจำนวนบุคลากรครูที่ครบชั้นเรียน  มีครูพิเศษบ้างแต่ไม่มากนัก  ครูคนหนึ่งอาจต้องเป็นทั้งผู้สอนและทำงานส่งเสริม  รวมทั้งรับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ ด้วย 
                     โดยการเลือกคุณลักษณะ อันพึงประสงค์เฉพาะข้อที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือตัวชี้วัดในกลุ่มสาระนั้นๆ ที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบ   เพื่อบูรณาการจัดทำแผนการเรียนรู้  และแผนการพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์ในข้อนั้นๆ ด้วยในคราวเดียวกัน   การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก็ดำเนินการประเมินร่วมกับตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยสถานศึกษาคาดหวังว่าเมื่อได้ดำเนินการในภาพรวมแล้ว  การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์จะครบทุกข้อตามที่สถานศึกษากำหนด  โดยดำเนินการดังนี้
                     ๑.  คณะกรรมการการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาและครูผู้สอน  ร่วมกันวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัดเนื้อหาในกลุ่มสาระวิชา   และพิจารณาเลือกคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาที่ครูแต่ละคนรับผิดชอบ  รวมทั้งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วย 
                      .   ครูผู้สอนนำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่คัดเลือกไว้ไปบูรณาการกับตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้   ดำเนินการพัฒนาและประเมินร่วมกัน 
                     ๓.    ครูผู้สอนส่งผลการประเมินให้ครูวัดผล เพื่อสรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  และนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป  
รูปแบบที่ 3 ครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาพัฒนาและประเมิน หรือร่วมพัฒนาและประเมิน
                  เหมาะสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ครูไม่ครบชั้น หรือครบชั้นพอดี แต่ครูคนหนึ่งต้องทำหลายหน้าที่
อีกทั้งความพร้อมของทรัพยากรด้านอื่นๆ มีน้อย   ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนควรเปิดโอกาสให้ชุมชน อันได้แก่ พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินด้วย ซึ่งจะทำให้ผลการประเมินมีความเที่ยงตรงมากขึ้น
   การพัฒนาและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามรูปแบบนี้  ครูประจำชั้นและหรือครูประจำวิชาร่วมกันพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคน      ทุกประการ  โดยดำเนินการดังนี้
ครูประจำชั้นและ/หรือครูประจำวิชา  ซึ่งรับผิดชอบการสอนมากกว่าหนึ่งชั้นหรือหนึ่งกลุ่มสาระฯ 
การบูรณาการทุกกลุ่มสาระและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เข้าด้วยกัน  ร่วมกันพัฒนาและประเมิน โดยอาจใช้การสังเกตพฤติกรรมตามสภาพจริง   เปิดโอกาสให้ชุมชน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้านร่วมประเมินด้วย   ทั้งนี้ กรณีที่มีนักเรียนบางคนไม่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อใด  ครูร่วมกับชุมชนดำเนินการพัฒนาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่านักเรียนมีคุณสมบัติตามเกณฑ์แล้วจึงให้ผ่านการประเมิน
๒.ครูประจำชั้นและ/หรือครูประจำวิชาร่วมกันสรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  และนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่ออนุมัติต่อไป
                การออกแบบการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล และวิธีหาคุณภาพของเครื่องมือแล้ว ครูผู้สอนสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในชั้นเรียนได้ดังนี้
                . กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์/ตัวชี้วัด/พฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
                .วิเคราะห์พฤติกรรมสำคัญจากพฤติกรรมบ่งชี้ที่จะประเมิน
                . เลือกใช้วิธีการ เครื่องมือให้เหมาะสมกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์จะประเมิน
                .กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics)
(ศึกษารายละเอียดในเอกสารการวัดและประเมินผลและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์)












การวัดและประเมินผล : การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน
ความหมาย
การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่านจากหนังสือ  ตำราเรียน เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อหาและหรือเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์  ความสุนทรีย์  และประยุกต์ใช้   และนำเนื้อหาสาระที่อ่านมา คิดวิเคราะห์ นำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์  สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาษาที่ถูกต้อง  มีเสนอผลและลำดับขั้นตอนในการนำเสนอ  สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน ตามระดับ ความสามารถในแต่ละระดับชั้น
ขอบเขตการประเมินและตัวชี้วัดที่แสดงความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ขอบเขตการประเมิน         
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และ/หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ความเพลิดเพลิน ความรู้ ประสบการณ์ และมีประเด็นให้คิดและเขียนบรรยาย ถ่ายทอดประเด็นที่คิดด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การอ่านสาระความรู้ที่นำเสนออย่างสนใจ  นิยาย  เรื่องสั้น  นิทาน  นิยายปรัมปรา
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น  ข้อดี  ข้อเสีย  ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะ
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ
5. สามารถแสดงความคิดเห็นความรู้สึกต่อเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และ/หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ  ความรู้ ประสบการณ์ที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์  แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ  แก้ปัญหา  และถ่ายทอดโดยการเขียนเป็นความเรียงเชิงสร้างสรรค์  ด้วยถ้อยคำ  ภาษาที่ถูกต้องชัดเจน เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วาสาร  หนังสือเรียน บทความ 
สุนทรพจน์  คำแนะนำ  คำเตือน
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศ เสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่าง ๆ
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุ เป็นผลจากเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์เรื่องที่อ่าน
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน
5. สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
การอ่านจากสื่อพิมพ์ และสื่ออิเลคทรอนิกส์ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ  ข้อคิด  ความรู้เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้อ่านนำไปคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สรุปแนวคิดคุณค่าที่ได้ นำไปประยุกต์ใช้ด้วยวิจารณญาณ และถ่ายทอดเป็นข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์หรือรายงานด้วยภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ วาสาร  หนังสือเรียน บทความ  สุนทรพจน์  คำแนะนำ  คำเตือน แผนภูมิ  ตาราง  แผนที่
ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
1.สามารถคัดสรรสื่อที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจ
   และประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน  
2. สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุนโต้แย้ง
3. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์  ความสมเหตุสมผล  ความน่าเชื่อถือ  ลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่อง
     ที่อ่าน
 4. สามารถสรุปคุณค่า  แนวคิด  แง่คิดที่ได้จากการอ่าน
 5. สามารถสรุปอภิปราย  ขยายความ  แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง  สนันสนุน  โน้มน้าว  โดยการเขียน
     สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผังความคิด เป็นต้น
รูปแบบการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
      โรงเรียนสามารถเลือกรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน
                แบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
แบบที่ 2 การใช้เครื่องมือ หรือแบบทดสอบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
แบบที่ 3 การกำหนดโครงการ /กิจกรรมส่งเสริมความสารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ
แบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดในการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ผลการประเมินมี 4 ระดับ
ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนมีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ
ดี         หมายถึง มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
ผ่าน    หมายถึง  มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีข้อบกพร่อง
                           บางประการ
ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีที่มีผลงาน
                           ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  กำหนดการประเมินไว้  ๔  อย่าง  ดังนี้
        ๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
       ๒  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
       ๓  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        ๔  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สถานศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ควรมีสาระต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1.   หลักการดำเนินวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา
2.  การตัดสินผลการเรียน
3.  การให้ระดับผลการเรียน
4.   การรายงานผลการเรียน
5.  เกณฑ์การจบการศึกษา
6. เอกสารหลักฐานการศึกษา
7.  การเทียบโอนผลการเรียน
***ตัวอย่างการเขียนหลักการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา
หลักการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียน
ข้อ ..  การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เป็นไปตามหลักการดำเนินต่อไปนี้
      ๑.  สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
      ๒.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้
ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตร  และจัดให้มีการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์
และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    ๓  การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
   ๔.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียน
การสอนต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย  เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน  ทั้งด้านความรู้  ความคิด  กระบวนการ  พฤติกรรม  และเจตคติ  เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด  ธรรมชาติวิชา  และระดับชั้นของผู้เรียน  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง  ยุติธรรม  และเชื่อถือไ

 ๕.  การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน  ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
๖.  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียน
การสอนต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย  เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน  ทั้งด้านความรู้  ความคิด  กระบวนการ  พฤติกรรม  และเจตคติ  เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด  ธรรมชาติวิชา  และระดับชั้นของผู้เรียน  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง  ยุติธรรม  และเชื่อถือได้
๗.  การประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาจัดการเรียนรู้  และตัดสินผลการเรียน
๘  เปิดโอกาสให้ผู้เรียน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
                    ๙  ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ
                    ๑๐  ให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา  เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผล
การเรียนรู้  รายงานผลการเรียน  แสดงวุฒิการศึกษา  และรับรองผลการเรียนของนักเรียน
                   ๑๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ  ได้แก่
             ๑๑.๑  ระดับชั้นเรียน
             ๑๑.๒  ระดับสถานศึกษา
              ๑๑.๓  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
              ๑๑.๔  ระดับชาติ 
                   ๑๒  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  กำหนดการประเมินใน  ๔  องค์ประกอบหลัก  ดังนี้
             ๑๒.๑  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
             ๑๒.๒  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
             ๑๒.๓  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
             ๑๒.๔  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                 ๑๓  สถานศึกษาต้องตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนรู้และการวัดผล
และประเมินผลการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  ๕  ด้าน  ได้แก่
                             ๑๓.๑  ความสามารถในการสื่อสาร
                             ๑๓.๒  ความสามารถในการคิด
                             ๑๓.๓  ความสามารถในการแก้ปัญหา
                             ๑๓.๔  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิ
                            ๑๓.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 
ตัวอย่างการเขียนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน
             ๑. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้ 
                       ๑.๑  กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค                 
โดยให้ความสำคัญของคะแนนระหว่างเรียนมากกว่าคะแนนปลายปี/ปลายภาค 
 ๑.๒  กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนในระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษาเป็น  ๘  ระดับ  และ
กำหนดผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในระดับมัธยมศึกษา  ได้แก่
                             ๑)  ๐  หมายถึง  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
       ๒)  ร    หมายถึง  การประเมินที่ยังไม่สมบูรณ์
                           ๓)  มส  หมายถึง  การไม่มีสิทธิเข้ารับการสอบ
                          ๔)  มผ  หมายถึง  การไม่ผ่านเกณฑ์การปฏิบัติ
๑.๓  กำหนดให้มีการสอนซ่อมเสริม  การสอบแก้ตัว  กรณีผู้เรียนมีระดับผลการเรียน   และแนวดำเนินการ
กรณีผู้เรียนมีผลการเรียนที่มีเงื่อนไข  คือ     มส”  “มผ
                   ๑.๔  กำหนดแนวปฏิบัติในการอนุมัติผลการเรียน
                   ๑.๕  กำหนดแนวทางในการรายงานผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง
                   ๑.๖  กำหนดแนวทาง  วิธีการในการกำกับ  ติดตามการบันทึกผลการประเมินในเอกสารหลักฐานการศึกษา
๑.๗  การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  ให้ถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๗.๑  คณะกรรมการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนของสถานศึกษากำหนดผลการเรียนรู้หรือความสามารถการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนจากกลุ่มสาระการเรียนรู้  พร้อมกำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
             ๑.๗.๒  ผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ออกแบบการประเมิน  เพื่อประเมินความสามารถการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน
ข้อ ๑.๘  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๘.๑  กำหนดเกณฑ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องประเมิน  ๘  ประการ  ได้แก่  รักชาติศาสน์กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน 
รักความเป็นไทย  และมีจิตสาธารณะ
                             ๑.๘.๒  ดำเนินการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้  ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  และโครงการกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ
                             ๑.๘.๓  จัดให้มีการประเมินเป็นระยะ  พิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์รายปี (ระดับประถมศึกษา)  รายภาค (มัธยมศึกษา)  และจบการศึกษาแต่ละระดับชั้น
 ๑.๙  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ  ดังนี้
             ๑.๙.๑  ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม  ได้แก่
                   ๑)  กิจกรรมแนะแนว
                   ๒)  กิจกรรมนักเรียน
                   ๓)  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
    ๑.๙.๒  ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเลื่อนชั้น  และจบระดับการศึกษา
    ๑.๙.๓  กำหนดคุณภาพหรือเกณฑ์ในการประเมิน  ๒  ระดับ  ได้แก่  ผ่าน  และไม่ผ่าน
....................................

ตัวอย่างการเขียนเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน

ข้อ ๒๑  สถานศึกษาจัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ทุกตัวชี้วัด  โดยกำหนดเกณฑ์ร้อยละ  ๘๐  ของจำนวนตัวชี้วัดเป็นเกณฑ์การผ่าน
ข้อ ๒๒  การตัดสินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  การอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องแต่ละภาคเรียน  รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มตามศักยภาพ
ข้อ ๒๓  ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาในระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษา  ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น    ระดับ
การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ให้มีระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม  ดี  ผ่าน  และไม่ผ่าน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม  การปฏิบัติ
กิจกรรม  และผลงานของผู้เรียน  และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน  และไม่ผ่าน
                ข้อ ๒๔  การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน  ให้สถานศึกษาโดยผู้สอนจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบภาคเรียนละ    ครั้ง
                ข้อ ๒๕  การเลื่อนชั้นจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน  ตลอดจนกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการผ่านตัวชี้วัดให้ชัดเจน  และประกาศให้ทราบทั่วกัน  ทั้งนี้  ผู้เรียนจะได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีในระดับประถมศึกษา และเป็นรายภาคเรียนในระดับมัธยมศึกษา  และได้รับการเลื่อนชั้นเมื่อสิ้นปีการศึกษา
                ข้อ ๒๖  ในกรณีที่ผู้เรียนมีสติปัญญาและความสามารถดีเลิศ  สามารถเรียนรู้ได้เร็วเป็นพิเศษ  สถานศึกษาอาจให้โอกาสผู้เรียนเลื่อนชั้นระหว่างปีการศึกษาได้
                ข้อ ๒๗  หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก  และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น  สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้  ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ


                ข้อ ๒๘  ผลการเรียนที่มีเงื่อนไข  ได้แก่  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ  การประเมิน
ที่ยังไม่สมบูรณ์  การไม่มีสิทธิเข้ารับการสอบ  และการไม่ผ่านเกณฑ์การปฏิบัติ  สามารถแก้ไข
ผลการเรียนได้    กรณี  ได้แก่
                             ๒๗.๑  การเปลี่ยนผลการเรียน
                             ๒๗.๒  การเปลี่ยนผลการเรียน
                             ๒๗.๓  การเปลี่ยนผลการเรียน มส
                             ๒๗.๔  การเปลี่ยนผลการเรียน มผ
                ข้อ ๒๙  สถานศึกษาจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้
                ข้อ ๓๐  สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน    กรณี  ดังนี้
             ๓๐.๑  กรณีเรียนซ้ำรายวิชา
             ๓๐.๒  กรณีเรียนซ้ำชั้น
ตัวอย่างการเขียน การเทียบโอนผลการเรียน

ข้อ ๓๑  สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่าง ๆ ได้แก่
             ๓๑.๑  การย้ายสถานศึกษา
             ๓๑.๒  การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา
             ๓๑ ๓  การย้ายหลักสูตร
             ๓๑.๔  การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ
             ๓๑.๕  การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ
นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอนความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  สถานประกอบการ  สถาบันศาสนา  สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ  และการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
                ข้อ ๓๒  การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรกหรือ
ต้นภาคเรียนแรกที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเข้าเรียน  ทั้งนี้  ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอน
ผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย   ภาคเรียน โดยสถานศึกษา
ที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชา/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
                ข้อ ๓๓  การเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างการเขียน เอกสารหลักฐานการศึกษา

ข้อ ๓๔  ให้สถานศึกษาจัดให้มีเอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด  ดังนี้
                             ๓๔.๑  ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)
             ๓๔.๒  ประกาศนียบัตร (ปพ.๒)
             ๓๔.๓  แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓)
ข้อ ๓๕ ให้สถานศึกษาจัดให้มีเอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด  ดังนี้    
             ๓๕.๑  แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ปพ.๔)
             ๓๕.๒  แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ปพ.๕-ป) แบบบันทึกผล
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายวิชา (ปพ.๕-ม)
                                         ๓๕.๓  แบบรายงานประจำตัวนักเรียน (ปพ. ๖)
             ๓๕.๔  ใบรับรองผลการศึกษา (ปพ. ๗)
             ๓๕.๕  ระเบียนสะสม (ปพ. ๘)
             ๓๕.๖  สมุดบันทึกผลการเรียนรู้ (ปพ.๙)